วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556



FTP คืออะไร? และใช้งานอย่างไร?

FTP คืออะไร แล้วจะใช้งานอย่างไร

FTP เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับ upload/download หรือดูโครงสร้างของไฟล์และ directory ใน Server FTP (File Transfer Protocol) เป็นมาตรฐานในการถ่ายโอนไฟล์ และเป็นส่วนหนึ่งของชุดโปรโตคอล TCP/IP มีประโยชน์มากสำหรับการรับส่งไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องลูก (FTP Client) กับเครื่องที่เป็นเครื่องให้บริการ (FTP Server) โดยเครื่องFTP Client อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่วไปส่วนเครื่อง FTP Server ก็อาจจะเป็นเครื่อง PC ธรรมดาจนถึงเครื่องที่มีสมรรถภาพสูง



FTP (File Transfer Protocol) เป็นระบบโอนย้ายไฟล์ข้ามระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความปลอดภัยพอสมควร โดยใช้โปรโตคอล TCP เป็นกลไกขนส่งข้อมูล การเข้าใช้งานผู้ใช้จะต้องแนะนำตนเองต่อเซิร์ฟเวอร์ด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน จากนั้นจะแสดงชื่อโฟล์เดอร์และชื่อไฟล์ที่มีอยู่ออกมา ความสามารถของ FTP ทำให้ไคลเอนต์โอนย้ายไฟล์ ระหว่างไคลเอนต์ และ FTP Server ได้ รวมทั้งระหว่างเครื่องสองเครื่องที่อยู่ห่างไกลกัน



FTP เป็นโปรโตคอลที่ยุ่งยากพอสมควร เพราะต้องสร้างช่องทางสื่อสารในระดับ TCP ถึงสองช่องทาง โดยช่องหนึ่งสำหรับโอนถ่ายข้อมูลและอีกหนึ่งใช้ส่งคำสั่ง เซิร์ฟเวอร์จะต้องมีตัวแปลโปรโตคอล (PI: Protocol Interpreter) สำหรับทำหน้าที่แปลและดำเนินงานตามคำสั่งของ FTP นอกจากนี้ยังต้องมีโมดูล โดนย้ายข้อมูลที่เรียกว่า DT (Data Transfer ) มารับผิดชอบจัดการกับข้อมูล ทั้ง PI ได้ โดยเรียกใช้ Telnet หรือไม่ก็จัดการโปรโตคอล Telnet หรือไม่ก็จัดการโปรโตคอล Telnet ใหม่ทั้งหมดเอง คำสั่งของ FTP



FTP (File Transfer Protocal) คือ มาตรฐานที่กำหนดใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลหรือการ Upload / Download ข้อมูลบน Internet ครับ โดยเราจะใช้โปรแกรมที่เรียกว่า FTP Client มาช่วยในการ Upload / Download ข้อมูลไปเก็บไว้ที่ Server เช่น โปรแกรม CuteFTP, WS_FTP ฯลฯ



FTP (File Transfer Protocol) คือการถ่ายโอนไฟล์ หรือเรียกได้อีกอย่างว่า การคัดลอกแฟ้มข้อมูลบนเครือข่าย คือ การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งมายังอีกระบบหนึ่งผ่านเครือข่าย ซึ่งทำได้หลายรูปแบบ เช่น การโอนจากแม่ข่ายมายังเครื่องพีซี หรือเครื่องพีซีไปแม่ข่ายหรือระหว่างแม่ข่ายด้วยกันเอง การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลหรือการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลอาศัยโปรแกรมหนึ่งที่มีการใช้งานกันมากและมีบริการอยู่ในโฮสต์แทบทุกเครื่อง คือ โปรแกรม FTP

FTP มีความสำคัญและประโยชน์อย่างไร

ในโลกธุรกิจปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันมากในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต ด้าน การตลาด การบริหาร การจัดการ และด้านที่ขาดไม่ได้ด้วยเช่นกัน คือ ด้านการสื่อสาร ซึ่งแต่ละธุรกิจมีความจำเป็นต้องใช้ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า การติดต่อสื่อสารภายในหรือระหว่างบริษัท ซึ่ง FTP

มีส่วนช่วยอย่างมากในการสื่อสารต่างๆ FTP จะช่วยให้การถ่ายโอนข้อมูลเป็นไปได้ง่ายมากขึ้น แต่ละบริษัทหรือหน่วยงานสามารถมีข้อมูลมากมายหลายรูปแบบที่ต้องการสื่อสารไปยังแหล่งอื่น หรือแม้แต่ต้องการข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากแหล่งอื่นเข้ามาใช้ เช่น ข้อมูลข่าวสารประจำวัน บทความ ข้อมูลทางสถิติ ผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น การจะเดินทางไปเอาข้อมูลต่างๆ เองก็ถือเป็นการเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ในเมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือแล้ว FTP จะเป็นตัวช่วยให้การได้รับข้อมูลเหล่านี้สามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้นเพียงอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น ผู้ใช้งานสามารถใช้ FTP ในการโอนข้อมูลจำนวนมากจากแหล่งที่อนุญาต ให้ใช้ได้ ซึ่งเรียกว่าเป็นแหล่งบริการ FTP ซึ่งมักเป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลข่าวสารต่างๆอยู่มาก และเปิดบริการทั่วไป เพียงแค่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเข้าไป

ใช้บริการคัดลอกแฟ้มข้อมูลต่างๆ มาใช้งาน



วิธีการทำงานของ FTP

Ftp ทำงานในแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ โดยพัฒนาขึ้นตามโปรโตคอลพื้นฐาน TCP ซึ่งจะต้องมีการติดต่อเพื่อจองช่องสื่อสาร (Connection Establishment) ก่อนทำการสื่อสารจริง ซึ่งเรียกว่าเป็นการติดต่อแบบที่ต้องขอเชื่อมต่อก่อน (Connection - Oriented) ในการใช้งาน FTP เพื่อเริ่มการติดต่อสื่อสารนั้น จะต้องระบุหมายเลข IP ปลายทาง และต้องผ่านการแจ้งรหัส Login และ Password ของเซิร์ฟเวอร์ที่จะติดต่อก่อนจึงจะเข้าใช้งานได้

ข้อมูลของ FTP ที่สื่อสารระหว่างกันมี 2 ประเภทคือ



• ข้อมูล(Data) หมายถึงข้อมูลต่างๆที่ต้องการรับส่ง รวมทั้งไฟล์ที่รับมาจากเซิร์ฟเวอร์ หรือส่งมาจาก ไคลเอนต์แล้วไปเก็บที่เซิร์ฟเวอร์

• ข้อมูลคำสั่ง (Command) FTP จะมีคำสั่งที่ใช้สั่งงานต่างๆ เช่น dir เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงชื่อไฟล์หรือไดเรคทอรีในเครื่องเซิร์ฟเวอร์

หรือ get ใช้โหลดไฟล์มาที่เครื่องไคลเอนต์ผ่านโปรแกรม FTP แล้วโปรแกรมจะส่งคำสั่งไปยังเซิร์ฟเวอร์เพื่อทำงาน และแจ้งผลการทำงานกลับมายังไคลเอนต์ ซึ่งผลการทำงานนี้จะนำหน้าด้วยตัวเลข 3 หลัก เป็นรหัสที่ใช้แสดงสถานะการทำงานภายในของ FTP และต่อด้วยข้อความที่เป็นเท็กซ์ต่อท้าย ซึ่งก็คือผลการทำงานหรือคำอธิบายต่างๆ โดยที่ FTP มีกระบวนการภายในที่จะตรวจสอบได้ว่าข้อมูลที่จะรับส่งนี้เป็นประเภทคำสั่งไม่ใช่ตัวข้อมูลที่ต้องการจะโอนย้าย การที่ FTP สามารถแยกแยะข้อมูลจริงออกจากข้อมูลที่เป็นคำสั่งได้นั้น ถือว่าเป็นหน้าที่การทำงานของโมดูลใน FTP ที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol Interpreter Module หรือ PI) ซึ่งทำหน้าที่รองรับการทำงานคำสั่งต่างๆของ FTP และในส่วนของข้อมูลที่รับส่งนั้นจะเป็นหน้าที่ของโมดูลโอนข้อมูล (Data Transfer หรือ DT) ซึ่งโมดูลทั้งสองนี้จะต้องทำงานอยู่ทั้งในเครื่องที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์



ส่วน Shareware หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ผู้ผลิตแจกให้ลองไปใช้ดูก่อน และเมื่อใช้แล้วพอใจจะนำไปใช้จริงก็ค่อยส่งเงินมาชำระทีหลัง ถ้าไม่นำไปใช้จริงก็ไม่ต้องส่งเงินมาชำระ



ผู้ผลิต Freeware และ ผู้ผลิต Shareware จะทำการส่งซอฟต์แวร์ของตนเองที่ต้องการแจกจ่ายไปไว้ที่คอมพิวเตอร์ที่เป็น ftp server และใครก็ตามที่สนใจจะลองนำไปซอฟต์แวร์ของผู้ผลิตไปใช้ดูก็ให้ไปทำการ download จากคอมพิวเตอร์ที่เป็น ftp server เครื่องนั้นมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง ในบางกรณีถ้าท่านมีข้อมูลที่น่าสนใจและต้องการเผยแพร่ ท่านก็สามารถส่งข้อมูลนั้นไปไว้ที่ ftp server ได้

ที่มา  http://www.digihub.co.th/knowledgebase.php?action=displayarticle&id=621

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556



คอมพิวเตอร์ > หน่วยความจำ (Memory Unit)

หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่าหน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage)

สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

2.2.1 หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM)


เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึก


ซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile)

โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงาน

เฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น







2.2.2 หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM)

เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว

ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น








internal storge หรือเป็นหน่วยเก็บข้อมูลและโปรแกรมชั่วคราว( temporary storage)


เมื่อปิดเคื่รองคอมพิวเตอร์ข้อมูลหรือโปรเเกรมทุกอย่าง ที่เก็บในแรมจะหายไป เนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง หน่วยเก็บข้อมูลประเภทนี้จึงเรียกว่า volatile ดังนั้นจัดเก็บข้อมูลอย่างถาวร ไว้ใช้งานในภายหลัง จึงจำเป็นจะตอ้งมีหน่วยเก็บเข้อมูลภายนอกที่เรียกว่า external storage หรือ secondary storage หรือ auxiliary storage ซึ่งสามารถจัดเก็บข้อมูลสำหรับการประมวลผลไว้ได้ถึงแม้ว่าจะไม่มีกระเเส ไฟฟ้าหล่อเลี้ยง( non-volatile) ก็ตาม



กระบวนการในการเก็บข้อมูล เรียกว่า การเขียนหรือการบันทึกข้อมูล ( writing หรือ recording data)


เนื่องจากว่า อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง จะบันทึกข้อมูลในรูปของสื่อต่างๆที่สามารถนำมาเร๊ยกในภายหลังได้ กระบวนการดึงข้อมูลมาใช้เรียกว่า retrieving data เเละถ้าเป็นการอ่านข้อมูลจะเรียกว่า reading data เพราะอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองจะอ่านข้อมูลและถ่ายโอนไปยังหน่วยความจำหลัก เพื่อการประมวลผลต่อไป



การใช้งานคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานต่างๆ จะมีความต้องการอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป เช่น บริษัทประกันและธนาคาร อาจมีความต้องการอุปกรณ์ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าได้จำนวนมาก ในขณะที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอาจต้องการอุปกรณ์ ในการจัดเก็บข้อมูลไม่มากนัก



หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit)


อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

จานแม่เหล็ก ( magnetic disk storage)









จานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภท จานแม่เหล็กประกอบด้วยแผ่นพลาสติกหรือโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก ข้อมูลสามารถบันทึกและอ่านจากผิวหน้าที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กนี้ จานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มีความจุสูง มีความเชื่อถือได้ และยังสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ประเภทของจานแม่เหล็ก เช่น ฮาร์ดดิสก์ ( hard disk )





ฟลอปปี้ดิสก์ ( floppy disks)





ฟลอปปี้ดิสก์ นิยมเรียกโดยทั่วไปว่า ดิสก์เกตต์ ( diskettes) หรือดิสก์ ( disks) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่สามารถพกพาและเคลื่อนย้ายได้สะดวก ฟลอปปีดิสก์ ในรุ่นแรก ๆ จะมีขนาด 8 นิ้ว และ 5.25 นิ้ว แต่ปัจจุบันนิยมใช้ขนาด 3.5 นิ้วแต่เดิมฟลอปปีดิสก์เรียกว่า ฟลอปปี ( floppies) เพราะดิสก์มีลักษณะที่บางและยืดหยุ่น แต่ปัจจุบันลักษณะของดิสก์ได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ เป็นดิสก์ที่หุ้มด้วยแผ่นพลาสติกแข็ง แต่เนื้อดิสก์ภายในยังคงอ่อนเหมือนเดิม จึงเรียกฟลอปปี้เช่นเดิม


ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/prakopmemory.html

ความสามารถของคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติที่สำคัญ 5 ประการดังนี้
1. การทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic machine)
การจัดเก็บข้อมูลที่บันทึกผ่านทางแป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถประมวลผลได้ และเมื่อคอมพิวเตอร์ประมวลผลเรียบร้อยแล้วข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าจะถูกแปลงกลับให้เป็นรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้
2. การทำงานด้วยความเร็วสูง (Speed)
เนื่องจากการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นการดำเนินงานต่าง ๆ จึงสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว (มากกว่าพันล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที)
3. ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้ (Accuracy and Reliability)
คอมพิวเตอร์จะทำงานตามที่คำสั่งที่มนุษย์เขียนโปรแกรมหรือคำสั่งไว้ ถ้าผู้ใช้ป้อนข้อมูลและชุดคำสั่งมีความถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก็จะมีความถูกต้องเชื่อถือได้

4. การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก (Storage)
คอมพิวเตอร์ทีหน่วยความจำที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่บันทึกไป ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหมื่นล้านตัวอักษร

5. การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล (Communication)
คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ และสามารถทำงานที่หลากหลายมากขึ้นกว่าการใช้คอมพิวเตอร์ระบบเดี่ยว เช่น การนำคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น

ที่มา  http://www.trueplookpanya.com/true/ethic_detail.php?cms_id=170











ประโยชน์และการใช้งาน Smart Phone

1. ถ่ายรูป


ต้องขอบอกว่าฟังก์ชั่นการถ่ายรูป ส่วนมากจะเป็นส่วนที่เราใช้งานมากสุด ยิ่งเดี๋ยวนี้แต่ละรุ่นความชัดก็เทียบเท่ากล้องดิจิตอลกันเลย ไม่ว่าเจออะไรประทับใจเราก็อดเก็บภาพไว้ไม่ได้ หรือ เวลาไปรับประทานอาหารเห็นอาหารที่มาเสริร์ฟหน้าตารับประทานเราก็จะถ่ายรูปไว้ หรือเวลาว่างๆ เราก็จะยกมือถือมาแชะรูปหน้าตัวเอง เสื้อผ้าหน้าผมที่เราแต่งมาว่าเจิดจรัสซักแค่ไหน และเมื่อเรามีมือถืออยู่กับตัวมันก็สะดวกที่จะถ่ายรูปในสถานการณ์ต่างๆใช่ไหมล่ะ





2. แอพแต่งภาพ


หลังจากที่เราถ่ายภาพเสร็จแล้ว เราก็จะต้องมีแต่งภาพใช่ไหมล่ะคะ ซึ่งในแอนดรอยด์นั้นก็มีแอพสำหรับแต่งภาพให้โหลดฟรีอยู่ไม่น้อยเลย มี filter ให้เราได้เลือกสรรในการแต่งภาพมากมาย และไม่ต้องเดาเลยว่าในมือถือแอนดรอยด์ของเพื่อนๆจะต้องมีแอพแต่งรูปภาพ อย่างน้อย 3 แอพ ขึ้นไปแน่ๆ ที่ฮิตๆก็จะมี Camera360 , Instagram , photo wonder เป็นต้น ซึ่งแอพแต่งภาพแต่ละอันเดี๋ยวนี้ก็จะมีฟังก์ชั่นการ แชร์ภาพเข้า Social Network ให้พร้อม เรียกได้ว่า เป็นกึ่งสำเร็จรูปเลยก็ว่าได้ แต่งภาพ 3 นาทีแล้วพร้อมแชร์ …. เอ๊ะ!! แอพพลิเคชั่นนะคะไม่ใช่มาม่า ^__^





3. Social network


หลายๆคนที่ซื้อมือถือแอนดรอยด์มาใช้ ซึ่งจุดประสงค์หลักที่ต้องการก็คือ การเข้าถึง Social Network อย่าง facebook , twitter , instagram ฯลฯ ซึ่งจาก 2 ข้อแรก จะเห็นได้ว่าเมื่อเราถ่ายภาพ แต่งภาพออกมา ก็อยากจะให้มีคนเห็น คนชอบภาพที่เราถ่าย ดังนั้น Social network คือประเด็นหลักที่ขาดไปไม่ได้เลยทีเดียว ที่สำคัญนอกจากภาพที่โดนๆ สังคมออนไลน์ก็สามารถทำได้อีกหลายอย่าง เรียกได้ว่า ตลอด 24 ชั่วโมงนั้น ต้องมี Social network เข้ามาเป็นกิจวัตรประจำวันแน่นอนค่ะ





4. แชท แชท แชท


อีกหนึ่งปัจจัยชอง มือถือแอนดรอยด์ คือต้องมี โปรแกรมแชท ซึ่งตอนนี้ ฟังก์ชั่น การส่ง message แทบจะมีผลน้อยเลยที่เดียวเมื่อเรามี โปรแกรมแชทเข้ามา ซึ่งหลายต่อหลายคนจะเรียกได้ว่า เสพย์ติดการแชทเลยก็ว่าได้ และโปรแกรมแชทในแอนดรอยด์ก็มีให้เลือกมากมายหลากหลาย ที่กำลังฮิตช่วงนี้ หนีไม่พ้น แอพ Line สินะ เพราะแอพนี้เค้ามี ฟังก์ชั่น ส่ง สติ๊กเกอร์ มาเสริมในการบอกความรู้สึก และสติ๊กเกอร์แต่ละอันก็น่ารัก น่าใช้ และสามารถถ่ายทอดอารมณ์เราแทนคำพูดได้ และสามารถตั้งกรุ๊ปดึงเพื่อนๆเข้ามาเมาส์มอยกันเป็นหมู่คณะได้ ทำให้ แอพ Line ชนะเลิศค่ะ ส่วนแอพอื่นๆที่ฮิตๆใช้กันจะเป็นพวก whatsapp , skype , Facebook chat





5. เกมส์


สิ่งที่ขาดไม่ได้ในมือถือก็คือ เกมส์ ซึ่งในแอนดรอยด์ก็ได้เปรียบคือ ใน market มีเกมส์ให้โหลดฟรีๆ เยอะมากก แบบเสียตังก็มี ทำให้เลือกเล่นกันไม่ถูกเลย จะชอบเกมส์ปลูกผัก หรือ puzzle ผจญภัย ตะลุยด่าน ลับสมอง ประลองปัญญา เรียกได้ว่ามีให้เลือกเล่นได้เพลินๆ ถ้าเบื่อๆก็ลบหาเกมส์ใหม่มาเล่น ได้เรื่อยๆมีทั้งแบบ 3D HD ให้เลือกหามาเล่นส่วนเกมส์ที่แนะนำ คงหนีไม่พ้น เกมส์ยอดฮิต Angry Birds เกมส์นกโกรธที่ฮิตไปทั้วทุกมุมโลก ส่วนเกมส์อื่นๆที่อยากแนะนำก็ jetpack joyride , subwaysurf, Asphalt สามารถเล่นได้เพลินๆเลยค่ะ





6. E-mail


สำคัญมากสำหรับคนทำงาน ด้วยความที่เป็นมือถือสมาร์ทโฟน ทำให้การติดต่อสื่อสารสะดวกยิ่งขึ้นซึ่งในแอนดรอยด์จะมี gmail มาพร้อมอยู่แล้ว ไม่ว่าคุณอยู่ส่วนไหน ถ้ามีสัญญาณอินเตอร์เน็ต ยิ่งถ้าใช้แพ็คเกจเน็ตแบบ unlimited เมลล์ก็จะแจ้งเตือนให้อัตโนมัติ ทำให้เราไม่พลาดงานที่สำคัญๆเลย





7. แผนที่


Google map ติดมากับเครื่องของแอนดรอยด์อยู่แล้วทุกรุ่น เราอยู่ตรงไหน จะไปไหน หา Location หาร้านบริเวณรอบๆที่คุณอยู่ก็ไม่ยากอย่างที่คิด google map สามารถช่วยคุณได้





8. ดูหนัง-ฟังเพลง


เมื่อมีมือถือซึ่งต้องติดตัวเราไปในทุกสถานที่ ที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ การฟังเพลง หรือ การดูหนัง ซึ่งในแอนดรอยด์ก็สามารถทำได้ง่ายๆ ถ้าอยากเข้าดูคลิปหนัง ฟังเพลง ดูMV คลิปตลกๆ หรือรายการต่างๆก็แค่เข้าแอพ Youtube หรือ ถ้าอยากดูหนังเกาหลีหรือต่างประเทศ อย่าง BoxTV ก็มีแอพให้โหลด ไว้ดูกัน หรือถ้าเรามีหนังหรือเพลงในเครื่อง ก็ MX Player หรือ VPlayer





9. โทรฟรี & vdo call


แค่ได้ยินว่า โทรฟรี ก็ร้อง ว้าวๆๆ กันแล้วใช่ไหมล่ะ ในแอนดรอยด์ มีแอพโทรฟรี แถมบางแอพสามารถ vdo call กันได้อีกด้วย ผ่านอินเตอร์เน็ตอยู่หลายแอพด้วยกัน ซึ่งจากที่ลองใช้ดู ความชัดก็ขึ้นอยู่กับสัญญาณอินเตอร์เน็ตของเราและคู่สนทนาค่ะ app แนะนำ ก็จะเป็น Skype ซึ่งขึ้นชื่ออยู่แล้ว การคุยฟรีผ่าน skype เราต้องมีไอดี ของกันและกันก่อน นะ ถ้าเป็นการโทรเข้าเบอร์จะมีการเก็บค่าบริการตามระบบของ skype นอกเหนือจาก skype ก็จะมี Line , Viber , Tango ดูเพิ่มเติม





10. อ่าน-เขียน-แก้ไข ไฟล์เอกสาร


ใน แอนดรอยด์หลายๆรุ่น จะมี ตัว Quick office มาให้เราสำหรับการ อ่าน แก้ไข หรือเขียน ไฟล์ word excel PDF หรืออื่นๆ ได้ หรือ เราสามารถหาแอพดีๆ จาก market ได้อย่างพวก document to go เป็นต้น แค่นี้ไม่ว่าเราอยู่ที่ไหน ถ้ามีงานด่วนเข้ามาก็สามารถทำได้ทันที





นี่คือ 10 ประโยชน์จากมือถือแอนดรอยด์ซึ่งที่ยกตัวอย่างมานั้นเป็นแค่ส่วนหนึ่งที่แอนดรอยด์สามารถทำได้ ในแอนดรอยด์ยังมีอีกหลายอย่างที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้เพื่อนๆ ใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้ในการทำงาน เรียกได้ว่าแค่มีแอนดรอยด์เพียงเครื่องเดียวก็เหมือนมีผู้ช่วยส่วนตัวก็ว่าได้ค่ะ วันนี้ lgmobilelover ขอตัวไปก่อนนะคะ หวังว่าบทความนี้จะทำให้เพื่อนๆรักแอนดรอยด์มากขึ้นและได้ลองใช้ประโยชน์จากแอนดรอยด์ให้คุ้มค่า ส่วนคนที่ตัดสินใจจะซื้อมือถือซักเครื่องลองดูแอนดรอยด์ไว้เป็นตัวเลือกอีกตัวหนึ่งค่ะ


วิธีการใช้งาน SmartPhone อย่างชาญฉลาด (Be Smarter About Your Smartphone)

1. รู้วิธีใช้งาน : ถ้าคุณมีสมาร์ทโฟนสักเครื่องและอยากจะใช้งานฟีเจอร์ดีๆ ที่มันมี โปรดมั่นใจว่าคุณทำความคุ้นเคยและเรียนรู้วิธีการใช้งานมันจริงๆ ไม่ว่าจะเรื่องของการท่องอินเทอร์เน็ตเต็มรูปแบบ, ปรับขนาดภาพวิดีโอตามความเหมาะสม ทั้งหมดนี้มีสอนบน Youtube อย่าพลาดที่จะเรียนรู้และหัดใช้ให้เป็น


2. รู้ว่าจะปิดเสียงยังไง : ถ้าคุณเรียนรู้ข้อ 1 เรียบร้อยแล้ว อย่าลืมดูวิธีปิดเสียงโทรศัพท์ของคุณ มันแปลกมากที่คนส่วนใหญ่ใช้สมาร์ทโฟนทั้งๆ ที่ไม่ทราบวิธีปิดเสียง มันคงไม่ดีนักถ้าคุณประชุมอยู่แล้วสมาร์ทโฟนดังขึ้น คนอื่นคงไม่มองว่ามัน "สมาร์ท" แล้วกระมัง


3. เรียนรู้มารยาท กาละเทศะ : หรืออะไรก็ตามแล้วแต่จะเรียก ไม่มีใครคนไหนอยากฟังเสียงคุณคุยโทรศัพท์หรอกนะ เชื่อสิ! หลีกเลี่ยงการคุยโทรศัพท์ในที่สาธารณะ เช่น ในโรงภาพยนต์ โรงพยาบาล ร้านอาหาร และที่ๆ มีคนอยู่เยอะ หากต้องรับสายมันคงจะดีกว่าถ้าคุณจะออกไปโทรศัพท์ข้างนอก


4. ใช้อย่างระมัดระวัง : สมาร์ทโฟนเป็นหนึ่งในหายนะของการขับรถ หากจำเป็นต้องสนทนา เลือกใช้ชุดหูฟังเพื่อความปลอดภัยของชีวิตคุณและผู้โดยสารดีกว่า


5. ปิดการแจ้งเตือนอีเมล : อีเมลบนสมาร์ทโฟนเป็นหนึ่งในตัวสร้างเสียงรบกวนที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด คุณไม่จำเป็นต้องเช็คเมลทุกๆ 30 วินาทีหรอกนะ ถ้าไม่ใช่นักธุรกิจที่ต้องติดต่องานมูลค่าหลายล้าน ขอแนะนำให้ปิดเสียงเตือนอีเมลในโทรศัพท์ ยกเว้นจำเป็นต้องตรวจเช็คอีเมลบ่อยจริงๆ (บ่อยครั้งที่เป็นอีเมลไร้สาระ ไม่เห็นน่าสนใจ)


6. ปิดการแจ้งเตือนทั้งหมด : คุณแน่ใจหรือว่าจะเปิดการแจ้งเตือนทุกอย่าง ? ต้องดูทุกความเคลื่อนไหว ? ปิดไปซะบ้าง จะเห็นว่าชีวิตคุณมีเวลาเหลืออีกเพียบ!


7. ทำความสะอาดเครื่อง (ข้างในระบบ) : ถึงแม้คุณจะมีพื้นที่เก็บข้อมูลแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนมหาศาลแค่ไหน ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องโหลดแอพพลิเคชั่นมาทุกตัว เลือกใช้เฉพาะที่ใช้งานจริง พนันกันได้เลยว่ามีแอพพลิเคชั่นที่คุณไม่เคยเปิดใช้อยู่ในสมาร์ทโฟนแน่นอน


8. เก็บมันใส่กระเป๋า : ไม่จำเป็นต้องมองเห็นสมาร์ทโฟนวางอยู่บนโต๊ะ หรืออยู่ในห้องประชุม รอคอยเวลาให้มันสั่นหรอกนะ เมื่อคุณไม่ใช้มัน เก็บใส่กระเป๋าเสื้อหรือกระเป๋าดีกว่า ไม่เสี่ยงต่อการสูญหายด้วย


9. สำรองข้อมูล : อย่าประมาท เพราะสิ่งสำคัญนอกจากการที่โทรศัพท์หาย นั่นคือข้อมูลก็หายไปด้วย รายชื่อติดต่อมากมาย ? ภาพส่วนตัว ? โปรดแน่ใจว่าคุณสำรองข้อมูลเป็นประจำ หากคุณใช้ iPhone มันเป็นเรื่องง่ายมาก เพียงสำรองข้อมูลผ่าน iCloud (คนส่วนใหญ่ มักละเลยข้อนี้)


10. ตรวจสอบค่าใช้จ่าย : มั่นใจมากว่ามีหลายคนที่ใช้สมาร์ทโฟนแล้วต้องเสียเงิน "แพงกว่าความเป็นจริง" ตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่ใช้งานจริง และเลือกโปรโมชั่นหรือการใช้งานที่เหมาะสม อย่ามองว่าต้องมีแพคเกจบุฟเฟต์ Unlimited ในขณะที่ใช้จริงแค่ไม่กี่ร้อยบาท เสียดายเงิน!


มีอีกหลายวิธีที่จะใช้งานสมาร์ทโฟนอย่างชาญฉลาด อย่าลืมว่าจุดประสงค์ของเทคโนโลยี คือช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน อย่าใช้งานสมาร์ทโฟนแพงๆ เพราะสักแต่ว่า ต้องมี ต้องเท่ห์ เพราะว่าพรุ่งนี้...มือถือของคุณ..ก็กลายเป็นรุ่นเก่าแล้ว!!!


ที่มา http://www.lgmobilelover.com/home/10-utility-from-smart-android/
http://news.siamphone.com/news-08439.html

ประโยชน์มากมายของ tablet ที่คุณควรรู้
1. ใช้แทนตำราเรียนได้ เป็นร้อย ๆ เล่ม ให้อยู่ในเครื่องเดียว

2. ใช้ในการบันทึกการเรียนการสอน สามารถจดบันทึกแบบลายมือเขียน ซึ่งจะเขียนลงไปบนจอภาพหรือว่าจะพิมพ์ข้อความลงไปในเครื่อง สามารถบันทึกเสียง ภาพอาจจะเป็นภาพนิ่งหรือ VDO เก็บไว้ดูตอนที่เราหรือนักเรียนลืมได้เป็นอย่างดี

3. สามารถค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ได้ โดยเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สายได้ (wifi) นักเรียนสามารถเรียนผ่านระบบออนไลน์ได้

4. สามารถใช้ Application เป็นสื่อการเรียนการสอนเป็นเครื่องมือฝึกหัด เพื่อเสริมสร้างความรู้ต่าง ๆ ให้นักเรียน เช่น ภาพจาก website , clip VDO ต่าง ๆ

5. ใช้สื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต ครู นักเรียนสามารถติดต่อกันได้ ส่งอีเมล์หากัน พูดคุยปรึกษากันได้ โดยใช้ Application ในเครื่อง


การใช้งาน tablet


สอน : วิธีต่อ android Tablet กับ internet wifi
สอน : วิธีใช้งาน สมัคร Android Market และ Gmail
สอน : วิธีโหลดโปรแกรมผ่าน Android Market และ ติดตั้ง Keyboard ภาษา
สอน : วิธี install/app2sd/uninstall สำหรับ android
รีวิว+สอน : ES File Explorer โปรแกรมจัดการไฟล์
รีวิว+สอน : App โหลดวีดีโอ TubeMate โอมห์ Video จงมาอยู่ในเครื่อง
สอน : วิธีการติดตั้ง Aircard สำหรับ Android Tablet หรือ IPad จีน รุ่น Herotab C8
สอน : ลงโปรแกรม Ndrive GPS และ Link Download วิธีติดตั้งสำหรับ Android Tablet ที่มี GPS
สอน : คู่มือภาษาไทย Android Tablet รุ่น Herotab C8


ที่มา http://www.gotoknow.org/posts/494544

การใช้งานโน๊ตบุ๊ค


ปัจจุบันโน้ตบุ๊กถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ได้แก่

Desktop replacement เดสก์ทอปรีเพลสเมนต์: โน้ตบุ๊กประเภทนี้ มีน้ำหนักประมาณ 3-4.5 กิโลกรัม จอภาพมักจะใหญ่กว่าประเภทอื่นๆ มีทั้งที่เป็นแบบสุดหรูฟีเจอร์ครบเครื่อง ราคาประมาณ 60,000-120,000 บาท สำหรับคนมีงบประมาณเหลือเฟือ และแบบประหยัด ราคาเริ่มที่ 40,000 บาท สำหรับคนที่อยากได้โน้ตบุ๊กราคาสบายกระเป๋าสตางค์มาไว้ในครอบครอง
Mainstream เมนสตรีม: โน้ตบุ๊กแบบนี้เหมาะกับนักธุรกิจหรือคนที่ต้องเดินทางบ่อยๆ ในขณะเดียวกันก็ต้องการประสิทธิภาพในการทำงานพอสมควร น้ำหนักประมาณ 1.8-3 กิโลกรัม ราคาประมาณ 48,000-100,000 บาท
Ultraportable อัลตร้าพอร์เทเบิล: กลุ่มนี้เน้นความบาง เบา และดีไซน์เฉียบหรูเป็นหลัก น้ำหนักประมาณ 1-1.8 กิโลกรัม ราคาประมาณ 60,000-120,000 บาท และเริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในหมู่นักธุรกิจที่เน้นเรื่องความสะดวกสบายในการพกพาเป็นหลัก

สำหรับสเปกเครื่องควรพิจารณาให้เหมาะสมกับการใช้งาน และอยู่ในงบประมาณที่กำหนด

มีขั้นตอนดังนี้
กำหนดสเปกให้ตรงกับความต้องการของคุณ ส่วนประกอบหลักๆที่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ก็คือ Processor, Chipset, Graphic Controller และ LCD
รองลงมาได้แก่ Memory และ Harddisk ส่วนพิจารณาหลังสุดได้แก่ Optical Drive, Keyboard, Pointing Device รวมไปถึง I/O Port ต่างๆ
เลือกโน้ตบุ๊กรุ่นที่มีส่วนประกอบซึ่งคุณให้ความสำคัญอยู่ครบมากที่สุด และอย่าพยายามนำส่วนประกอบที่คุณคิดว่า อาจจะต้องการสำหรับใช้ในอนาคตมามีบทบาทในการตัดสินใจเลือกซื้อมากนัก
เลือกตามการใช้งาน เช่น ใช้งานเชิงธุรกิจ, ใช้งานแทนพีซีตั้งโต๊ะหรือเพื่อความบันเทิง ซึ่งรูปแบบการใช้งานจะแตกต่างกันไป
ใช้งานทั่วไป ทำงานเอกสาร ใช้โปรแกรมออฟฟิศทั้งหลาย เพียงแค่ซีพียูระดับเกือบๆ 1 กิกะเฮิรตช์ แรมประมาณ 128 เมกะไบต์ ฮาร์ดดิสก์ขนาด 20 กิกะไบต์ก็สามารถใช้งานได้แล้ว แต่ถ้าจะให้ดีควรมีอาร์ดดิสก์ 30 กิกะไบต์ขึ้นไป
ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ด้วยโน้ตบุ๊ก ซึ่งการใช้งานประเภทความบันเทิงนั้นสเปกจะต้องสูงสักหน่อย ซีพียู เพนเทียมโฟร์ โมบาย แรมอย่างน้อย 512 เมกะไบต์ เพราะประสิทธิภาพต่างกับเครื่องที่ใช้แรม 256 เมกะไบต์อย่างเห็นได้ชัด ฮาร์ดิสก์ที่แนะนำคือ 40 กิกะไบต์ขึ้นไป และยังต้องเน้นเรื่องระบบกราฟฟิก ควรใช้ชิปกราฟฟิกแยกต่างๆหากมีหน่วยความจำสำหรับแสดงผลโดยเฉพาะ และเพื่อความสมบูรณ์ในการดูหนังผ่านดีวีดีควรเลือกจอแบบ Wide Screen ซึ่งจะให้ภาพเต็มจอมากกว่า
ใช้งานนอกสถานที่ ควรเน้นที่ความบาง และเบาเป็นพิเศษ และหากต้องการเชื่อมต่อแบบไร้สาย สิ่งแรกที่ต้องมีคือระบบ Wi-Fi ควรมองหาโน๊ตบุ้กที่สนับสนุนเครือข่ายไร้สายมาตรฐาน 802.11g เพราะนอกจากจะใหม่และเร็วกว่าแล้ว ยังสามารถทำงานร่วมกับมาตรฐาน 802.11b ที่ใช้ทั่วไปในที่สาธารณะได้ด้วย และอาจจะต้องซื้ออุปกรณ์เสริมเพิ่มเติมเพื่อรอบรับการใช้งานตามต้องการ
(หากต้องเดินทางบ่อยๆ แนะนำให้ซื้อแบตเตอรี่สำรองไว้อีกหนึ่งอัน เผื่อคุณต้องใช้มันในกรณีฉุกเฉินเวลาไม่สามารถเสียบไฟตรงได้ และถ้าไม่อยากเก็บอะแดปเตอร์ไปๆมาๆเวลาเดินทาง ก็ซื้ออีกอันไว้สำหรับเดินทางโดยเฉพาะเลยก็ได้)
ตกแต่งภาพ งานกราฟิก ซีพียู เพนเทียมโฟร์ ไฮเปอร์เธรดดิง แรมขั้นต่ำ 256 เมกะไบต์ ระบบกราฟิกสำหรับแสดงผลสามมิติ จอภาพ 15-17 นิ้ว
เลือกเครื่องที่มีไดรฟืบันทึกซีดีหรือดีวีดี และหากเป็นดีวีดีไรเตอร์ ควรเลือกที่เขียนแผ่นได้หลายๆแบบ ทั้ง DVD-R และ DVD+R
ถ้าโน๊ตบุ้กของคุณมีอุปกรณืต่อพ่วงอื่นๆเป็นจำนวนมาก ลองหันมาใช้พวกด็อกกิงสเตชันหรือพอร์เรพพลิเคเตอร์ดู อย่างน้อยเวลาต้องการย้ายดน๊ตบุ้กไปไหน คุณก็ไม่ต้องมานั่งเสียบสายเข้าๆออกๆอีกต่อไป
และถ้าต้องซื้อโน้ตบุ๊กมือสอง อยากได้ของถูกๆ...นอกจากจะต้องเช็กอุปกรณ์ให้ครบถ้วนแล้ว อย่าลืมว่าการรับประกันนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ที่ขาดไม่ได้เลย
ขั้นสุดท้าย เมื่อได้สเปกเรียบร้อยก็นำมาตรวจสอบกันหลายๆรุ่น หลายๆยี่ห้อ และควรเปรียบเทียบราคาด้วย รวมถึงดูในเรื่องของวัสุดที่ใช้ทำ, ของแถม และการรับประกันว่ามีกี่ปี และนอกจากนี้ควรสอบถามจากผู้ที่เคยใช้งานมาแล้วว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง ใช้แล้วมีปัญหาอะไรบ้างหรือเปล่า รวมถึงบริการหลังการขาย และจำนวนศูนย์บริการที่มีด้วย


เมื่อได้ข้อสรุป ตกลงซื้อเป็นที่เรียบร้อย ก่อนจะรับโน้ตบุ๊ก ควรจะพิจารณาให้ละเอียดดังนี้
ตรวจสอบสเปกของเครื่องให้ตรงกับที่ตกลงกันเอาไว้ก่อนซื้อ
เปิดเครื่องให้ทำงาน แล้วลองใช้งานส่วนต่างๆดูว่าปกติหรือไม่
ตรวจสอบหา Dead Pixel บนหน้าจอ โดยเข้าสู่ Dos Mode ให้หน้าจอเป็นสีดำ แล้วมองหาจุดสีที่ผิดเพี้ยนไป นอกจากนี้ยังควรปรับเปลี่ยนสีแบ็กกราวนด์เป็นสีต่างๆเพื่อตรวจสอบ และควรสอบถามถึงเงื่อนไขในส่วนของ Dead Pixel ว่าถ้าเกิดกี่จุดถึงจะเคลมได้
ตรวจสอบการเปิด-ปิดฝาพับให้ดีว่ามีอาการหลวมหรือไม่
ลองตรวจสอบระบบเสียงด้วยการเปิดเพลงฟัง และควรลองเสียบหูฟังและใช้ไมโครโฟนด้วย
ตรวจสอบการใช้งานพอร์ตต่างๆ ด้วยการลองเชื่อมต่ออุปกรณ์
ลองใช้งานไดร์ฟที่ติดตั้งมาให้ว่า สามารถอ่านข้อมูลได้ถูกต้อง
หากเป็นซีดีอาร์ดับบลิวหรือคอมโบไดร์ฟ ลองทดสอบการเขียนแผ่นและอ่านแผ่นให้ดีด้วย
ตรวจสอบไฟแสดงสถานะต่างๆว่าทำงานปกติหรือไม่
ตรวจสอบปุ่มคีย์บอร์ด ให้ลองพิมพ์ทุกๆตัวอักษร
ลองเสียบปลั๊กใช้งาน และลองถอดปลั๊กเพื่อใช้ไฟจากแบตเตอรี่
ตรวจสอบซอฟต์แวร์ต่างๆที่ติดตั้งมาให้ว่าครบตามที่แจ้งไว้หรือไม่
ตรวจสอบแผ่นซีดีไดรเวอร์ต่างๆ โดยเฉพาะ Recovery CD ที่ควรจะมีให้
ตรวจสอบคู่มือการใช้งาน ใบรับประกัน ของแถมต่างๆ ให้ครบตามเงื่อนไข
ตรวจสอบใบเสร็จรับเงิน และสอบถามเรื่องการนำเครื่องเข้าศูนย์บริการ เงื่อนไขต่างๆ ซึ่งโน้ตบุ๊กบางยี่ห้อจะสามารถซื้อประกันเพิ่มได้อีกด้วย


การใช้งานโน๊ตบุ๊กในออฟฟิศ หรือตามบ้าน มักจะมีฝุ่นละอองมาติดอยู่ตามซอกมุมต่างๆโดยเฉพาะ ส่วนของคีย์บอร์ดที่จะมีปัญหาในการทำความสะอาดมากที่สุด สำหรับโดยรอบๆตัวเครื่อง ให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเปล่าแล้วบิดให้หมาดๆ เช็ดไปรอบๆตัวเครื่อง ไม่ควรใช้สารเคมีมาทำความสะอาดนอกจากจะเป็นน้ำยาสำหรับทำความสะอาดโน้ตบุ๊กโดยเฉพาะ

สำหรับที่ตัวคีย์บอร์ดส่วนใหญ่มักจะใช้ปากเป่าไล่ฝุ่นละออง ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องนัก วิธีการที่ดีที่สุดคือ การใช้เครื่องดุดฝุ่น ดูดเอาฝุ่นละอองออกมา

นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มระหว่างการใช้งาน เพราะอาจจะหกรดไปบนตัวเครื่อง ทำให้เกิดความเสียหายได้ และทำให้โน้ตบุ๊กสกปรกอีกด้วย

ในการใช้งานปกติคุณควรจะระมัดระวังเรื่องของการกระแทกเอาไว้ด้วย เพราะโน้ตบุ๊กปกติจะสามารถทนแรงกระแทกได้ไม่มากนัก หากโดนกระแทกแรงๆก็อาจจะไปกระทบกระเทือนอุปกรณ์ภายในได้ และเมื่อต้องการเคลื่อนย้ายโน้ตบุ๊กควรนำใส่กระเป๋าที่ออกแบบมาใช้กับโน้ตบุ๊กโดยเฉพาะ นอกจากจะช่วยลดแรงกระแทกแล้วยังช่วยป้องกันน้ำได้ระดับหนึ่งอีกด้วย

ที่มา http://www.oknation.net/blog/ta2531/2009/04/18/entry-4


ประโยชน์ของโน๊ตบุ๊ค


มินิคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คที่มีชิ้นใหม่ที่ดีของอุปกรณ์และพวกเขามีผลประโยชน์แตกต่างกันมากพวกเขาประหยัดพื้นที่, เงิน, เวลาและ เหล่านี้ gadgets ใหม่ขนาดเล็กไม่เสียค่าใช้จ่ายโชคและมีขนาดเล็กพอที่คุณสามารถใช้พวกเขาทุกที่โดยไม่ต้องมีการจัดการกับถุงขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยสายไฟและซีดีที่มักจะอยู่ในที่มีแล็ปท็อปปกติ

ค่าใช้จ่ายของโน้ตบุ๊คขนาดเล็กที่ยังเป็นบวก! ถ้าคุณเช่าแล็ปท็อปแล้วคุณจะต้องจ่ายเงินมากขึ้นว่าถ้าคุณกำลังจะซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คและเมื่อการให้เช่าที่คุณไม่ได้เป็นของตัวเองซึ่งหมายความว่าอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่ซ่อนอยู่ "ขายบิ๊ก","Outlet คอมพิวเตอร์"หรือ"ซื้อโน๊ตบุ๊คแล็ปท็อป"คุณจะเห็นสัญญาณเช่นนี้และคุณอาจคิดว่ามันเป็นความคิดที่ดี แต่มันเป็นทั้งหมดที่มักจะมีราคาแพงเกินไป แล็ปท็อปโน้ตบุ๊คที่มีขนาดใหญ่มีราคาแพงมากขึ้นเพราะพวกเขามีคุณสมบัติเพิ่มมากที่สุดของเราไม่เคยใช้ คอมพิวเตอร์เหล่านี้ให้คุณเลือกที่ไม่ต้องซื้อเป็นหนึ่งในบรรดาโน๊ตบุ๊คแล็ปท็อปที่มีราคาแพงเพราะเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คขนาดเล็กที่มีราคาไม่แพงมากและไม่ทั้งหมดเป็นสิ่งพื้นฐานที่เรามักจะกำล​​ังมองหาในสมุดบันทึก

มินิคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คมีบางส่วนของคุณสมบัติที่ดีที่สุดที่ก็ไม่สามารถเปรียบเทียบกับรูปแบบขนาดใหญ่อื่น ๆ มันมีขนาดเล็กซึ่งเป็นข้อได้เปรียบที่พูดสำหรับตัวเองมันเป็น; คุณสามารถใช้พวกเขาทุกใช้พวกเขาอย่างรวดเร็วและง่ายดายและพวกเขาจะดีสำหรับคนผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นเรียนรู้วิธีการในการท่องเว็บ

โน้ตบุ๊คเป็นวิธีที่ดีที่จะสอนให้ยายวิธีการอ่านอีเมลที่ร้านค้าและร้านค้าออนไลน์ สำหรับบรรดาของคุณที่ไม่ได้ใช้เวลาหลายชั่วโมงต่อวันในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมที่ซับซ้อนสำหรับงานมืออาชีพแล้วคุณจริงๆไม่จำเป็นต้องจินตนาการว่าแล็ปท็อปมีราคาแพง หากคุณชอบฉันและจริงๆเท่านั้นใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบางอย่างการเขียนแสงและการท่องเว็บเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วเป็นโน้ตบุ๊คขนาดเล็กที่ดีที่สุดคือมันไม่มีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากและมันไม่ทุกสิ่งที่คุณต้องการจะทำ

ถ้าคุณเป็นนักเรียนที่ต้องการสิ่งที่จดบันทึกในชั้นเรียนเป็นโน้ตบุ๊คที่เหมาะเป็นอย่างยิ่งเพราะมันมีขนาดเล็กน้ำหนักเบาและไม่ได้เพิ่ม £ 10 ถึงหนังสือที่คุณมีอยู่แล้วดำเนินรอบ โบนัสมีเหตุผลที่ดีมากที่จะซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คขนาดเล็กราคาต่ำและขนาดเล็กที่มีการเพิ่มเพียงเพื่อให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ดี



ที่มา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=compareproducts&month=11-2011&date=27&group=5&gblog=47

ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)

หมายถึงเครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็กมีส่วนของหน่วยความจำและ ความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุดสามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC)


ปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงกว่าในสมัยก่อนมากอาจเท่ากับหรือมากกว่า เครื่องเมนเฟรมในยุคก่อน นอกจากนั้นยังราคาถูกลงมากดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้มาก ทั้งตามหน่วยงานและบริษัทห้างร้าน ตลอดจนตามโรงเรียนสถานศึกษา และบ้านเรือนบริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายจนประสบความสำเร็จเป็น บริษัทแรก คือบริษัทแอปเปิล


ประเภทของ คอมพิวเตอร์ตามหลักการประมวลผลจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ


คอมพิวเตอร์ แบบแอนะล็อก (Analog Computer)


หมาย ถึง เครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการวัด (Measuring Principle) ทำงานโดยใช้ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) แสดงออกมาในลักษณะสัญญาณที่เรียกว่า Analog Signal เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มักแสดงผลด้วยสเกลหน้าปัทม์ และเข็มชี้ เช่น การวัดค่าความยาว โดยเปรียบเทียบกับสเกลบนไม้บรรทัดการวัดค่าความร้อนจากการขยายตัวของปรอท เปรียบเทียบกับสเกลข้างหลอดแก้ว
นอกจาก นี้ยังมีตัวอย่างของ Analog Computer ที่ใช้การประมวลผลแบบเป็นขั้นตอน เช่น เครื่องวัดปริมาณการใช้น้ำด้วยมาตรวัดน้ำ ที่เปลี่ยนการไหลของน้ำให้เป็นตัวเลขแสดงปริมาณ อุปกรณ์วัดความเร็วของรถยนต์ในลักษณะเข็มชี้ หรือเครื่องตรวจคลื่ยสมองที่แสดงผลเป็นรูปกราฟ เป็นต้น


คอมพิวเตอร์แบบดิจิทัล (Digital Computer)


ซึ่ง ก็คือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำงานทั่วๆ ไปนั่นเอง เป็นเครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการนับทำงานกับข้อมูลที่มีลักษณะ การเปลี่ยนแปลงแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ในลักษณะของสัญญาณไฟฟ้า หรือ Digital Signal อาศัยการนับสัญญาณข้อมูลที่เป็นจังหวะด้วยตัวนับ (Counter) ภายใต้ระบบฐานเวลามาตรฐาน ทำให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งสามารถนับข้อมูลให้ค่าความละเอียดสูง เช่นแสดงผลลัพธ์เป็นทศนิยมได้หลายตำแหน่ง เป็นต้น เนื่องจาก Digital Computer ต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้า (มนุษย์สัมผัสไม่ได้) ทำให้ไม่สามารถรับข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต้นทางได้โดยตรง จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนข้อมูลต้นทางที่รับเข้า (Analog Signal) เป็นสัญญาณไฟฟ้า (Digital Signal) เสียก่อน เมื่อประมวลผลเรียบร้อยแล้วจึงเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้ากลับไปเป็น Analog Signal เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ต่อไป
โดยส่วนประกอบสำคัญ ที่เรียกว่า ตัวเปลี่ยนสัญญาณข้อมูล (Converter) คอยทำหน้าที่ในการเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาณข้อมูล ระหว่าง Digital Signal กับ Analog Signal


คอมพิวเตอร์แบบลูกผสม (Hybrid Computer)


เครื่อง ประมวลผลข้อมูลที่อาศัยเทคนิคการทำงานแบบผสมผสาน ระหว่าง Analog Computer และ Digital Computer โดยทั่วไปมักใช้ในงานเฉพาะกิจ โดยเฉพาะงานด้านวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ในยานอวกาศ ที่ใช้ Analog Computer ควบคุมการหมุนของตัวยาน และใช้ Digital Computer ในการคำนวณระยะทาง เป็นต้น
การทำงานแบบผสมผสาน ของคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ ยังคงจำเป็นต้องอาศัยตัวเปลี่ยนสัญญาณ (Converter) เช่นเดิม


ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์


1. ประโยชน์ด้านการศึกษา ใช้เพื่องานด้านการเรียนการสอนในหลายรูปแบบ เช่นการ
นำบทเรียน การผลิตสื่อการสอน การใช้ซีดีรอมสำหรับการเรียนรู้ เกมเพื่อการศึกษาหรือ
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2.ด้านความบันเทิง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความสนุกสนานบันเทิง เช่น เล่นเกม
ฟังเพลงชมภาพยนต์

3.ด้านการเงิน การธนาคาร ใช้ในการเบิก – ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การโอนเงินด้วย
ระบบด้วยอัตโนมัติโดยโอนเงินจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ การดูข้อมูลตลาดหุ้นการทำกราฟแสดงยอดขาย

4.ด้านการสื่อสารและคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต สื่อสาร
ถ่ายทอดผ่านดาวเทียมการติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์ การคมนาคมทางเรือ เครื่องบินและรถไฟฟ้า
5.ด้านศิลปะและการออกแบบ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวาดรูปการ์ตูนออกแบบ
งานและการสร้างภาพกราฟิกหรือการตกแต่งภาพในคอมพิวเตอร์
6.ด้านการแพทย์์ ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยงานด้านการแพทย์หลายด้าน
เช่น การเก็บประวัติคนไข้ การใช้ทดลองประกอบการวินิจฉันของแพทย์ใช้ในการตรวจ
เลือก ตรวจปัสสาวะ การผ่าตัดหัวใจการตรวจสอบห้องพักผู้ป่วยว่าว่างหรือไม่ การ
ควบคุมแสงเลเซอร์การเอ็กซ์เรย์ การตรวจคลื่อนสมองคลื่นหัวใจ เป็นต้น

7.ด้านวิทยาศาสตร์และเคมี ใช้ในการวิเคราะห์สูตรทางเคมีการคำนวณสูตรทาง
วิทยาศาสตร์การค้นคว้าทดลองในห้องวิทยาศาสตร์ การคำนวณเกี่ยวกับระบบสุริยะ
จักรวาลและการเกิดปรากฏการณ์เกี่ยวกับดวงดาวต่างๆ

8. ประโยชน์ด้านการคำนวณ การคำนวณ หมายถึง การบวก ลบ คูณ หารหรือการหาคำตอบด้วยการคำนวณตัวเลข ใช้มากในงานด้านบัญชี การคำนวณราคาสินค้า เช่น เวลาที่นักเรียนไปซื้อสินค้าในร้านมินิมาร์ท นักเรียนจะเห็นพนักงานเก็บเงินของร้านใช้เครื่องคำนวณราคาสินค้ารวมเงินค่าสินค้าให้เราและคิดเงินทอนให้อย่างสะดวกโดยใช้คอมพิวเตอร์

9. ประโยชน์ด้านการออกแบบและสร้างงานศิลปะ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวาดรูปการ์ตูนการออกแบบงานและการสร้างภาพกราฟิกหรือการตกแต่งภาพในคอมพิวเตอร์
10. ประโยชน์ด้านการพิมพ์เอกสาร การพิมพ์เอกสาร เช่น รายงาน หนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร การ์ดวันเกิด การ์ดอวยพรปีใหม่ ฯลฯ ล้วนแต่ใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำทั้งสิ้นเพราะสามารถออกแบบได้สวยงามและประหยัดค่าใช่จ่ายในการพิมพ์


ที่มา http://doungporn401.wordpress.com/